เทคนิคการเทรดแบบ Fundamental


Fundamental(การวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน) : ปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคา

     เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจากหลายๆด้านประกอบกัน เป็นการมองทิศทางผ่านข่าวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือด้านอื่นๆ ที่จะมีผลต่อกราฟหรือที่เรียกกันว่า อุปสงค์อุปทานนั่น เราต้องมีความจำเป็นที่จะต้องรู้เพราะเราจะได้มองค่าของเงิน ว่าจะดีหรือไม่ แข็งหรืออ่อนเพื่อประกอบการมองทิศทางของกราฟที่จะเกิดขึ้นด้วย ปกติเราเล่นสกุลเงินไหนอยู่เราควรสนใจข่าวของสกุลเงินนั้น เพราะมันจะส่งผลแน่นอนในการเทรด หลายๆท่านที่เป็นเทรดเดอร์ เลยเลี่ยงที่จะไม่เทรดในช่วงที่มีข่าวแรงๆ หรือถ้าเป็นสายข่าวนี่ก็รอเวลานี้เช่นเดียวกันครับเพราะการเทรดนั้น ก็มีเทรดแนวเล่นข่าวเช่นเดียวกัน แต่ถ้าเป็นเทรดเดอร์ มือใหม่แนะนำให้เลี่ยงจะดีกว่าเพราะความเสี่ยงก็สูงเหมือนกัน
ปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคา
1. นโยบายรัฐบาล (Government Policy)

     หากรัฐบาลของ U.S. ตั้งใจลดอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) เพื่อกระตุ้นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นั่นแปลว่าจะมีนักลงทุนจำนวนมากพุ่งเข้าไปลงทุนใน U.S. อันจะส่งผลโดยตรงให้ค่าเงินของ U.S. ปรับตัวสูงขึ้นในทันที

     ในทางตรงกันข้าม หาก Fed ซึ่งเป็นธนาคารกลางของ U.S. ต้องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้มีมากเกินไป Fed จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมราคาไม่ให้พุ่งสูงขึ้น การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ทำให้นักลงทุนบางส่วนตัดสินใจขายสินทรัพย์ของ U.S. และไปลงทุนในประเทศอื่น (ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า) แทน กรณีดังกล่าวนี้จะทำให้ค่าเงินของ U.S. ปรับตัวลดลงในทันทีเช่นกัน2. การซื้อขายระหว่างประเทศ (International Trade)

     การเพิ่มลดอัตราดอกเบี้ย การนำเข้าหรือส่งออกสินค้าของ U.S. ก็มีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อ U.S. มีการนำเข้าสินค้าเข้าประเทศ นั่นหมายถึงการใช้จ่ายเงินดอลล่าห์สหรัฐเพื่อซื้อสินค้า เปรียบได้กับการนำเงินดอลล่าห์สหรัฐไปขายให้กับต่างประเทศ เมื่อมีการนำเข้าสินค้ามากขึ้น เงินดอลล่าห์สหรัฐถูกนำไปขายมากขึ้น ค่าเงินก็จะอ่อนตัวลงตามหลัก Demand and Supply ทางเศรษฐศาสตร์

     ในทางตรงกันข้าม หากมีการส่งออกสินค้ามากขึ้น นั่นหมายถึงการที่เงินดอลล่าห์สหรัฐถูกซื้อจากต่างประเทศมากขึ้น ค่าเงินก็จะแข็งค่าขึ้น ตามหลัก Demand and Supply ทางเศรษฐศาสตร์เช่นกัน3. ความคาดหวัง (Expectation)

     ปัจจัยข้อนี้จัดว่าเป็นหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดแนวรับแนวต้านของราคา นั่นคือ ถ้านักลงทุนเห็นว่าราคาเพิ่มสูงขึ้นจนเกือบถึงแนวต้านแล้ว เขาก็จะเริ่มเทขาย หากมีนักลงทุนจำนวนมากคิดเช่นเดียวกัน ราคาก็จะเกิดการกลับตัวในจุดที่เป็นแนวต้าน แต่ในขณะเดียวกัน หากมีนักลงทุนคิดไม่เหมือนกัน ก็จะเกิดความผันผวนของราคา ในจุดที่เป็นแนวรับแนวต้าน ดังที่เห็นได้จากการซื้อขายโดยปกติทั่วไป4. อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply)

     ในประเทศที่เกิดเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจอันทำ ให้ราคาของสินค้าลดต่ำลง การส่งออกสินค้าของประเทศนั้นจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนได้เปลี่ยนมาซื้อสินค้าจากประเทศนั้น (เพราะมีราคาต่ำกว่าประเทศอื่น) เหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้ค่าเงินของประเทศนั้นเพิ่มสูงขึ้น

     ในทางตรงกันข้าม หากประเทศดังกล่าวเกิดเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจอันทำให้ราคาของสินค้าปรับตัวสูงขึ้น (เมื่อเทียบกับราคาของสินค้าชนิดเดียวกันของประเทศอื่น) การส่งออกสินค้าของประเทศนั้นก็จะลดลง นักลงทุนเปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากประเทศอื่นแทน ทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าลง